ประมวลภาพ ...นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1 - 2 คณะแพทยศาสตร์ หาวิทยาลัยนเรศวร พักปฏิบัติธรรม ณ วัดป่าน้ำโจน ต.พันชาลี อ.วังทอง จ.พิษณุโลก
 
เมื่อ
วันที่ 5 - 7 พฤศจิกายน 2562 ...ขออนุโมทนาบุญในกุศลจิตกับทุก ๆ ท่าน ด้วยค่ะ ขอให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปนะคะ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
กิจกรรมในช่วงเช้าของแต่ละวัน...ได้ช่วยกันจัดเตรียมอาหารถวายพระ
นี่แหละ..."ธรรมแห่งการอยู่ร่วม"... ช่วยกันทำ ช่วยกันกิน
(ซึ่งเป็นสิ่งที่ท่านพระอาจารย์ เน้นย้ำเสมอในการที่บุุคคลมาอยู่ร่วมกัน)
จะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อกันและกัน
ไม่ว่า...จะไปอยู่ในสังคมไหน ๆ ก็จะร่มเย็นเป็นสุข เมื่อเอาใจเขามาใส่ใจเรา
ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคม เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
คุณความดีนั้นไม่มีขาย...ถ้าอยากได้ต้องทำเอง
เมื่ออาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว...ได้ร่วมกันน้อมถวายจังหันแด่พระสงฆ์
***บรรยกาศในการถวายจังหัน***
คุณสิทธิ์  ไตรบัญญัติกุล บุตรชายของ คุณสุทธิ  สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน และ
คุณดวงใจ  ไตรบัญญัติกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า ไทยเย็น จำกัด
คุณสุวรรณี  ศรีราสวัสดิ์ เจ้าของกิจการ กูโรตี & ชาชัก @ โคราช
...ส่งต่อบุญ...
ขออนุโมทนาบุญกับน้อง ๆ ทุกคนด้วยนะคะ
ท่านพระอาจารย์สนทนาอย่างเป็นกันเองกับเด็ก ๆ ก่อนฉันจังหัน
พระสงฆ์อนุโทนาให้พรแก่ญาติโยม
อายุโท พะละโท  ธีโร  วัณณะโท  ปะฏิภาณะโท, ผู้มีปัญญา ให้อายุ ให้พละ วรรณะ และปฏิภาณ
สุขัสสะทาตา  เมธาวี  สุขัง  โส  อะธิคัจฉะติ, ผู้มีปัญญาให้ความสุข ย่อมได้ประสพสุข
อายุง ทัตวา พะลัง วัณณัง สุขัญจะ ปะฏิภาณะโท, บุคคลผู้ให้อายุ พละ วรรณะ สุขะ และปฏิภาณ
ทีฆายุ ยะสะวา โหติ ยัสถะ ยัตถูปะปัชชะตีติ, บังเกิดในที่ ใด ๆ ย่อมมีความสุข มีอายุยืน มียศในที่นั้น ๆ ดังนี้.
 
คุณณัฐวุฒิ   ปั้นลี้
นักประชาสัมพันธ์งานกิจการนิสิต
และศิษย์เก่าสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
(รับผิดชอบมาเป็นผู้ดูแลน้อง ๆ
นิสิตแพทย์ที่จัดทำโครงการ
มาในครั้งนี้
)
 
สาธุ...สาธุ...สาธุ
คุณสิทธิ์  ไตรบัญญัติกุล บุตรชายของ คุณสุทธิ  สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน และ
คุณดวงใจ  ไตรบัญญัติกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า ไทยเย็น จำกัด
(ถึงแม้นจะลาสึกออกจากสมณะเพศไปแล้วแต่ก็ยังไม่ทิ้งข้อวัตรปฏิบัติ)
น้อง ๆ นิสิตแพทย์ รับประทานอาหารร่วมกัน
บรรยากาศน่ารัก ๆ ของเด็ก ๆ
กิจกรรมในช่วงบ่าย...ท่านพระอาจารย์เมตตาอบรมสั่งสอน นิสิตแพทย์
คุณธีรติ  ซ้อมจันทา "น้องโยธา"
นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 2 คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
(ประธานชมรมพระพุทธศาสนา)
คุณณัฐวุฒิ   ปั้นลี้ นักประชาสัมพันธ์งานกิจการนิสิต และศิษย์เก่าสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตรณ์มหาวิทยาลัยนเรศวร
(รับผิดชอบมาเป็นผู้ดูแลน้อง ๆ นิสิตแพทย์ที่จัดทำโครงการ มาในครั้งนี้)
                                                                          พระเจ้าที่แตะต้องได้ (2)
            "...เป็น "หมอ" เป็น "แพทย์" เพื่อรักษาคน ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า "คน" หรือ "มนุษย์" มันเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีทั้ง "ร่างกาย" และ "จิตใจ" คือมีทั้งตัวตน และความรู้สึก...การรักษาเราจะต้องคำนึงถึงความรู้สึกของเขาด้วย...เพราะเราคือที่พึ่งของเขาทั้งร่างกายและจิตใจ...เราคือ "พระเจ้า" ของเขา...แม้กระทั่งญาติของเขาที่รอลุ้นให้เขาหายหรือทุเลาจากความเจ็บไข้ได้ป่วย...
               เพราะฉะนั้นเราจะต้องมีความเข้มแข็งอดทนที่สูงมาก ๆ ทั้งร่างกายและจิตใจ...ด้วยเหตุนี้การเรียนการศึกษาทางการแพทย์มันจึงจำเป็นจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจกับกระบวนการเรียนรู้ที่ซับซ้อนวุ่นวาย ...ละเอียดละออไปทุกมิติ...เพราะมันหมายถึงชีวิต ความทุกข์ยาก ความคาดหวังจากผู้อื่น...ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นไหน ๆ ของสังคมในโลกสมมตินี้...
              การผลิต "ยานอวกาศ" หรือ "เรือดำน้ำ" กระบวนการผลิตคงจะต้องซับซ้อนวุ่นวายละเอียดอ่อนในทุกมิติ...จากการคำนวณถึงสถานที่ ๆ จะไปใช้งาน...ไม่ว่าจะเป็นแรงเสียดทานหรือแรงกดดัน...ไม่ว่าจากอุณหภูมิที่สุดขั้วขนาดไหน...ซึ่งรถ "ซาเล้ง" หรือ "รถอีแต๋น" คงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องวุ่นวายในการผลิตขนาดนี้มั้ง...
               พวกคุณก็ประมาณ "ยานอวกาศ" หรือ "เรือดำน้ำ" นั่นแหละ...ต้องทนต่อแรงเสียดทานแรงกดดันจากสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ มากกว่าสาขาอาชีพอื่น ๆ เพราะมันหมายถึงความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจของมนุษย์...สำหรับเราแล้วพวกคุณคือ..."พระเจ้าที่แตะต้องได้"...เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องอดทนที่จะอัพตัวเองไปสู่จุดนั้น... "คุณหมอ"..."

                                                                                                    (บางตอนในการบรรยายธรรม โดย... ท่านพระอาจารย์อังคาร  อัคคธัมโม)
ต่อจากนั้นท่านพระอาจารย์อังคาร  อัคคธัมโม...นำเจริญสมาธิ ภาวนา
ฝึกความนิ่ง...ฝึกความอดทนอดกลั้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในยามเจอสิ่งเร้าที่จะผ่านเข้ามา
***นัตถิ สันติ มัง สุขัง...สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี***
ต่อจากนั้น...ช่วยกันทำข้อวัตรในภาคบ่าย...กวาดตาด ทำความสะอาดเสนาสนะ
***ร่วมแรง...ร่วมใจกันทำคุณงามความดี***
 
 
 
กิจกรรมในตอนค่ำ
 
 
***ท่านพระอาจารย์นำนั่งสมาธิภาวนา***
***จิตที่ฝึกดีแล้ว...นำสุขมาให้***
                                             
ฟังธรรม - สนทนาธรรม กับท่านพระอาจารย์อังคาร  อัคคธัมโม
                                                                        เสถียรภาพในใจ
      "...ที่ มหา'ลัย เขามีแนวทางที่จะบ่มเพาะวิชาการเพื่อที่จะนำไปบริหารจัดการ "ชีวิต" ในครอบครัวและในสังคมนั้น ๆ ในโลกนี้ให้อยู่แล้ว...แต่ ณ สถานที่แห่งนี้...คือ "วัด" ใน "ศาสนาพุทธ" ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับผู้ที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสในศาสนาพุทธ...จะเข้ามาเรียนรู้คำสอนของพระพุทธเจ้า...ซึ่งเป็น "พระศาสดา" คือ "ผู้ประกาศศาสนา" หรือผู้ที่นำความรู้ของตัวเองมาบอกสอนแก่ผู้อื่นนั่นเอง...คำสอนนั้นก็คือแนวทางที่จะนำไปใช้บริหารจัดการ "ความรู้สึก" ของแต่ละคนเพื่อให้แต่ละคนมีชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่าง "สงบสุข" ตามอัตภาพ...ถึงที่สุดก็ "พ้นทุกข์" ไปเลย...คือไม่ต้องมาเกิดเป็นอะไรทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของ...
       แต่ในที่นี้ วันนี้ สำหรับพวกเราก็คงไม่มีใครอยากเป็นพระอรหันต์ล่ะนะ...ก็มาเรียนรู้ทักษะที่นำไปใช้ในการดำเนินชีวิตให้พอดีกับเพศภาวะ สถานะ กาละเทศะ ด้วยการรู้จักอดทนอดกลั้น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักยืดหยุ่นในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมนั้น ๆ รู้จักให้แล้วก็รู้จักรับ...เหมือน "เคมี" ที่จะอยู่ด้วยกันได้อย่างมีเสถียรภาพใน "ตารางธาตุ" มันก็จะต้องรู้จักทั้งให้แล้วก็รับ ไม่ใช่เหรอ..."รักมาก" ก็ทุกข์ "ชังมาก" ก็ทุกข์ "บวกมาก" ก็ไม่มีเสถียรภาพ "ลบมาก" ก็ไม่มีเสถียรภาพ...เปลี่ยนถ่ายให้เป็น มันถึงจะมีเสถียรภาพในการอยู่ร่วมกัน...จิตที่เจริญแล้วจะรู้จักที่จะคอนโทรลความรู้สึกของตัวเองให้อยู่กับความ "พอดี" ได้...แล้วก็รักษาสภาวะนั้นไว้ให้ต่อเนื่องจนเป็น "ปกติ"...นั่นล่ะ "ศีล" นั่นล่ะ "ธรรม"...."ศีลธรรม" น่ะ...เฝ้าดูเอา "ใจ" ใคร "ใจ" มัน...ผิดปกติมากก็ทุกข์มาก...ผิดปกติน้อยก็ทุกข์น้อย...ไม่ผิดปกติเลยก็..."ไม่ต้องทุกข์"...ดูเอา...บริหารจัดการเอา..."ใจ" ใคร "ใจ" มัน...ทำทุกที่ทุกสถานนั่นแหละ...เพียงแต่มาเรียนรู้แนวทางที่วัด...แล้วประมวลหาบทสรุปไปประยุกต์ใช้ในทุกที่ทุกสถานให้ "พอดี" กับเพศภาวะ สถานะ กาลเทศะ เพราะ "กิเลส" ไม่ได้อยู่ในวัดไม่ได้อยู่ในป่าในเขาแต่มันอยู่ใน "ใจ" เรานี่แหละ...คอยเข้าไปดู...นั่นล่ะ "เข้าวัด" พยายามเอาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเคลียร์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นไม่ว่า "รัก" หรือ "ชัง" ..."ดีใจ" หรือ "เสียใจ"... "สุขใจ" หรือ "ทุกข์ใจ" ...นั่นล่ะ "ภาวนา"...พยายามคอนโทรลให้มัน "พอดี" ให้ได้อย่าให้มันหนักไปทางใดทางหนึ่ง...นั่นล่ะ "ปฏิบัติธรรม" ล่ะ..."

                                                                            (บางตอนในการบรรยายธรรม โดย...ท่านพระอาจารย์อังคาร  อัคคธัมโม)
ร่าเริงในธรรม...อย่างมีสาระธรรม
ขออนุโมทนาบุญกับ...คุณสิทธิ์  ไตรบัญญัติกุล "ทิดตูน" ด้วยนะคะ
ท่านพระอาจารย์อังคาร  อัคคธัมโม นำสวดมนต์ทำวัตรเย็นบูชาพระรัตนตรัย
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
อิติปิ โส ภะคะวา
เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อะระหัง เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวาติ. เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้.
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว

สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก,
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้.
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง, ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลีกะระณีโย, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ. เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.
ท่านพระอาจารย์อนุโมทนาให้พร ก่อนแยกย้ายกันไปพักผ่อน
รุ่งขึ้นของวันที่น้อง ๆ นิสิตแพทย์จะเดินทางกลับ
น้อมถวายใบปวารณาแด่ท่านพระอาจารย์เพื่อทำบุญกับทางวัด
ท่านพระอาจารย์อนุโมทนาให้พรกับน้อง ๆ นิสิตแพทย์ก่อนเดินทางกลับ
อายุวัฑฒะโก , ความจริญอายุ
ธะนะวัฑฒะโก , ความเจริญทรัพย์
สิริวัฑฒะโก , ความเจริญสิริ
ยะสะวัฑฒะโก , ความเจริญยศ
พะละวัฑฒะโก , ความเจริญกำลัง
วัณณะวัฑฒะโก , ความเจริญวรรณะ
สุขะวัฑฒะโก , ความเจริญสุข
โหตุ สัพพะทา , จงมีแด่ท่านในกาลทั้งปวง
ทุกขะโรคะภะยา เวรา , ทุกข์โรคภัยและเวรทั้งปวง
โสกา สัตตุ จุปัททะวา , ความโศก ศัตรูและอุปัทวะทั้งหลาย
อะเนกา อันตะรายาปิ , ทั้งอันตรายทั้งหลายเป็นเอนก
วินัสสันตุ จะ เตชะสา , จงพินาศไปด้วยเดช
ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง , ความชนะ ความสำเร็จ ทรัพย์ ลาภ
โสตถิ ภาคะยัง สุขัง พะลัง , ความสวัสดี ความมีโชค ความสุข กำลัง
สิริ อายุ จะ วัณโณ จะ โภคัง วุฑฒี จะ ยะสะวา , โภคะ ความเจริญ และความเป็นผู้มียศ
สะตะวัสสา จะ อายู จะ , และอายุยืน 100 ปี
ชีวะสิทธี ภะวันตุ เต ฯ , และความสำเร็จกิจในความเป็นอยู่ จงมีแก่ท่านในกาลทุกเมื่อเทอญ.
ถือโอกาสถ่ายรูปร่วมกันไว้เป็นที่ระลึกก่อนกลับ
ขออนุโมทนาบุญกับน้อง ๆ ทุก ๆ คน ด้วยค่ะ ขอให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป นะคะ...สาธุ...สาธุ...สาธุ
*
* * * * *
* * * * * * * * * * * * * * ** * * * * * *